อีคอนไทย คัดค้าน! การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ

58
0
Reading Time: 2 minutesReading Time: 2 minutes

อีคอนไทย คัดค้าน! การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ

วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) โดยร่วมกับสภาองค์การนายจ้างอีก 15 สภาองค์การนายจ้าง ประกอบด้วย
1. สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (สภา1 ) 2. สภาองค์การนายจ้างสภาอุตสาหกรรมเอ็สเอ็มอีแห่งประเทศไทย (สภา 3 ) 3. สภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค (สภา 4 ) 4. สภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ (สภา 5 )5. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย (สภา 6 ) 6. สภาองค์การนายจ้างไทยสากล (สภา 7 )7. สภาองค์การนายจ้างการเกษตรธุรกิจอุตสาหกรรมไทย(สภา 8 ) 8. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจ การค้าและบริการไทย (สภา 9 ) 9. สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าไทย(สภา 10 ) 10. สภาองค์การนายจ้างไทย(สภา 11 ) 11. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจ และอุตสาหกรรมแห่งชาติ(สภา12 ) 12. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจอุตสาหการไทย (สภา13 ) 13. สภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อีแห่งประเทศไทย(สภา14 ) 14. สภาองค์การนายจ้างบริการไทย(สภา15 ) 15. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว-ภาค 8 (สภา 16)

โดยได้ร่วมกันแถลงข่าว คัดค้านการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งได้มีความเห็นต่อประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท ว่า การปรับอัตราค่าจ้างที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง จะเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังมีปัญหาจากปัจจัยหลายประการที่มีความผันผวน เช่น ค่าเงินบาท ราคาพลังงาน มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศไทยโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมกันนี้จะได้นําเสนอ ยื่นเรื่องคัดค้านในการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทพร้อมกันทั่วประเทศ ต่อประธานคณะกรรมการค่าจ้าง โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ แต่ควรใช้หลักการตามกฏหมายโดยยึดแนวปฏิบัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดในแต่ละจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) เป็นผู้พิจารณาให้สอดคล้องกับปัจจัยทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่
2. ในการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำควรจะพิจารณาจากทักษะฝีมือแรงงาน ตามประกาศคณะกรรมการ
ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเพียงอัตราค่าจ้างของแรงงานแรกเข้าที่ยังไม่มีฝีมือ

ดังนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนมาตรการทางภาษี ลดอุปสรรคต่อการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการและแรงงานให้ความสําคัญกับการ UP-Skill & Re-Skill เพื่อส่งเสริมแรงงานที่มีทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
3. การพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉพาะพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจควรให้มีการรับฟังความคิดเห็นและศึกษาถึงความพร้อมของในแต่ละพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจรวมทั้งควรให้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
4. นอกเหนือจากการยกระดับรายได้ของแรงงานแล้ว ภาครัฐควรสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายในการดํารงชีพ ให้แก่ภาคแรงงานในขั้นพื้นฐาน เช่น ในการจัดหาจัดซื้อ สินค้าอุปโภคบริโภคในราคาถูกลงอีกด้วย

นอกจากนี้สภาองค์การนายจ้าง จะมีการนําหนังสือคัดค้านการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทพร้อมกันทั่วประเทศเสนอต่อประธานกรรมการค่าจ้างด้วย

ซึ่งการแถลงข่าวในครั้งนี้ ถูกจัดขึ้นในงานฉลองครบรอบ 30 ปี ของการก่อตั้งสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) ครบรอบ 30 ปี อีคอนไทย ณ ห้อง Royal Jusmine ชั้น L โรงแรมจัสมินซิตี้ สุขุมวิท 23

เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา

สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย)
EMPLOYERS’ CONFEDERATION OF THAI TRADE AND INDUSTRY
สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (ส.ค.อ.ท.) หรือ EMPLOYERS’ CONFEDERATION OF THAI TRADE AND INDUSTRY ชื่อย่อว่าอีคอนไทย ประธานสภาฯ คนปัจจุบัน
ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2537 เหตุผลที่สําคัญของการจัดตั้งสภาองค์การนายจ้างฯ แห่งนี้เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีบทบาทใน การสร้างสรรค์และเสริมสร้าง อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้งเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้ตัวแทนฝ่ายนายจ้างในภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมได้เข้ามามีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านแรงงานสัมพันธ์อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายทั้งในภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันมีสมาชิก ประเภทสมาคมนายจ้าง 25 สมาคม สมาชิกสมทบ (บริษัทห้างร้าน) กว่า 400 แห่ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *